ทันตแพทย์สำหรับเด็ก หรือ Pedodontist เป็นทันตแพทย์ผู้ให้คำปรึกษา ดูแลรักษา ป้องกันปัญหา สุขภาพช่องปากและฟันแก่เด็ก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 12 ปี
การดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก สามารถเริ่มต้นได้ ตั้งแต่ฟันซี่แรก ที่บิ๊กเม้าท์เท็นเราพยายามให้การดูแลน้อง ๆ ตัวเล็ก ด้วยวิธีการทำฟันที่สนุกสนาน บรรยากาศห้องทำฟันที่ผ่อนคลาย ดูแลโดยทันตแพทย์สำหรับเด็กที่มีประสบการณ์และมีจิตวิทยาในการจัดการน้อง ๆ ขณะทำฟัน เพราะการสร้างประสบการณ์การทำฟันที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะปูพื้นฐานให้น้อง ๆ มีสุขภาพช่องปากที่ดีในอนาคต รวมถึงสร้างความคุ้นชินกับการพบทันตแพทย์อีกด้วย
ทันตแพทย์สำหรับเด็กให้บริการดูแลฟันของเด็ก l Dental services for your child
ทันตแพทย์แนะนำให้การอุดหลุมร่องฟันเป็นวิธีหนึ่งในการปกป้องฟันจากแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของฟันผุ ส่วนใหญ่แล้ว ทันตแพทย์จะทาวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันทันทีที่ผิวฟันด้านบดเคี้ยวงอกพ้นเหงือกขึ้นมา ซึ่งปกติแล้วอยู่ในช่วงอายุประมาณ 6-12 ปี
2. การ X-RAY ตรวจสุขภาพฟัน
ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานมาพบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอ หากพบฟันผุก็สามารถรับการรักษาก่อนที่การผุจะลุกลาม ทำให้การรักษายากยิ่งขึ้นและเสียค่าใช้จ่ายสูง หรือหากพบว่ามีฟันขึ้นซ้อนเก การสบฟันผิดปกติ ทันตแพทย์จะสามารถให้คำแนะนำ และให้การรักษาเบื้องต้น ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและให้ผลการรักษาที่ดียิ่งขึ้น
3. การขัดฟันเคลือบฟลูออไรด์
ฟลูออไรด์ เป็นสารช่วยป้องกันและลดการผุของฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพให้ผลต่อฟันคือ เมื่อฟันขึ้นแล้วสารฟลูออไรด์จะช่วยลดการสร้างกรดจากจุลินทร์ทรีย์และยังสามารถช่วยทำให้การผุชะลอตัวไม่ผุเพิ่มขึ้นในฟันที่ผุเริ่มแรกได้
4. การอุดฟัน
เด็กก็มีสภาพช่องปากที่ไม่ต่างจากผู้ใหญ่มากนัก ในช่วงที่มีแต่ฟันน้ำนม ประกอบกับการแปรงฟันที่ยังไม่สะอาดก็เป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดหินปูนสะสม เกิดกลิ่นปากและฟันผุได้ ส่วนในช่วงฟันแท้ผสมฟันน้ำนม ก็ต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะช่วงนี้ฟันแท้จะถูกละเลยมักเกิดหินปูนและผุง่ายเช่นกัน การมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันอย่างน้อย 6 เดือนครั้ง ก็เป็นอีกทางหนึ่ง ที่จะช่วยให้เด็กคุ้นเคยกับการรักษา และหากพบว่ามีหินปูนหรือฟันผุ การแก้ไขและป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ จะเป็นผลดีต่อเด็กอย่างมาก
5. การครอบฟัน กรณีที่มีฟันผุ ลุกลามมาก
ครอบฟันเด็กจะทำในฟันที่รักษารากฟันซึ่งสูญเสียเนื้อฟันเยอะ ครอบฟันจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้ฟันที่รักษารากฟันและช่วยป้องกันไม่ให้มีการรั่วซึมของเชื้อโรคเข้าไปในโพรงประสาทฟันหรือคลองรากฟันที่รักษาไปแล้ว
6. การรักษาโพรงประสาทฟัน
เมื่อฟันผุลึกมากขึ้นจนถึงโพรงประสาทฟัน เด็กจะเริ่มมีอาการปวด ในระยะนี้จะทำการอุด หรือครอบฟันเลยไม่ได้ จะต้องทำการรักษารากฟันหรือรักษาโพรงประสาทฟันก่อน
7. การถอนฟันเด็ก
คนจะเข้าใจว่าฟันน้ำนมเมื่อถอนไปแล้ว ฟันแท้ก็จะขึ้น แต่จริงๆ ไม่ใช่ สมมติถ้าฟันน้ำนมมีปัญหาปวดขึ้นมา ผุมาก อุดไม่ได้ ต้องถอนไป มันก็จะเกิดช่องว่าง ทีนี้ฟันที่อยู่ก่อนหน้าและหลังช่องว่างจะล้มเข้ามาในช่องว่าง ทำให้ช่องว่างตรงนั้นเล็กลงได้ ทำให้ฟันแท้ด้านล่างอาจขึ้นไม่ได้เลย หรือขึ้นได้ไม่สวยงาม จึงควรได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจากทันตแพทย์เฉพาะทางเด็ก
8. การใส่เครื่องมือกันฟันล้มหรือเครื่องมือขยาย ช่องว่างสำหรับฟันแท้ (SPACE MAINTAINER OR SPACE REGAINER )
เครื่องมือที่ว่านี้ ทำหน้าที่ในการรักษาระยะห่างระหว่างฟันเอาไว้ไม่ให้ลดลงหรือหายไป โดยที่มันจะประกอบไปด้วยส่วนที่ไปสวมฟันที่อยู่หลังช่องว่างเพื่อใช้เป็นหลัก และส่วนที่ยื่นออกมาสัมผัสหรือแตะกับฟันที่อยู่ข้างหน้าช่องว่างนั้น เพื่อเป็นตัวค้ำยันไม่ให้ฟันข้างหลังขยับมาในช่องว่าง
9. การจัดฟันในเด็ก
ปัญหาฟันแบบไหนบ้างที่ควรจัดฟัน? หากพบภาวะเหล่านี้ จนเกิดปัญหาในการใช้ชีวิต ทันตแพทย์จะแนะนําให้จัดฟันเพื่อแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
การจัดฟันสำหรับเด็กมีแบบใดบ้าง?
“บริการทำฟันร่วมกับการใช้แก๊สหัวเราะ”
แก๊สหัวเราะ หรือ แก๊สไนตรัสออกไซด์ (N2O) เมื่อสูดดมแล้วจะให้ความรู้สึกเคลิ้มสุข ผ่อนคลาย จึงถูกนำมาใช้ในทางทันตกรรมเพื่อลดความกังวลและลดความเจ็บปวดให้แก่คนไข้ขณะทำการรักษา นิยมใช้ในการทำหัตถการทางทันตกรรมสำหรับเด็ก นอกจากนี้ผู้ใหญ่ที่มีความเครียดและกังวลกับการทำฟันก็สามารถใช้ได้เช่นกัน โดยออกฤทธิ์อยู่เพียงช่วงสั้นๆ และมีฤทธิ์ระงับปวด มีผลข้างเคียงน้อยมากเนื่องจากแก๊สนี้ถูกกำจัดออกจากร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ไม่ตกค้างในร่างกาย
แก๊สไนตรัสออกไซด์มีผลข้างเคียงหรือไม่
ระหว่างการรักษา ทันตแพทย์จะคอยเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ดังนั้น ผู้ปกครองสบายใจได้เลยค่ะ อย่างไรก็ตาม หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการรักษา คนไข้อาจจะยังรู้สึกมึนงง หรือคลื่นไส้เพราะฤทธิ์ของแก๊สไนตรัสออกไซด์ได้ แต่ไม่อันตรายแน่นอนค่ะ